คณะกรรมการตรวจสอบ

 

1. (อยู่ระหว่างเสนอแต่งตั้ง)

ประธานกรรมการ

2. (อยู่ระหว่างเสนอแต่งตั้ง)

กรรมการ

3. นายสมศักดิ์ วรวิจักษณ์

กรรมการ

4. ผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใน

เลขานุการ

คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุน ให้บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บริษัทฯ) มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความโปร่งใส โดยมีการสอบทานความถูกต้อง และเชื่อถือได้ของรายงานทางบัญชีและการเงิน, ระบบการควบคุมภายใน, ระบบบริหารความเสี่ยง, กระบวนการตรวจสอบภายใน, การติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ

  1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางบัญชีและการเงินอย่างถูกต้อง และเพียงพอ เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
  2. สอบทานกับฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชี เมื่อการตรวจสอบบัญชีเสร็จสิ้นลง เพื่อพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้ 
    • งบการเงิน และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
    • รายงานของผู้สอบบัญชี
    • ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการตรวจของผู้สอบบัญชี
    • ความยุ่งยากหรือข้อขัดแย้งที่มีนัยสำคัญกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทในระหว่างที่ผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานอยู่
    • สาระสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการตรวจสอบที่คณะกรรมการตรวจสอบควรจะทำความเข้าใจ หรือสื่อสารกับผู้สอบบัญชี

  1. สอบทานและพิจารณาร่วมกับผู้สอบบัญชี และผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน เพื่อยืนยันถึงความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน ซึ่งรวมถึงการควบคุมและความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ
  2. สอบถามถึงระดับความเสี่ยงที่สำคัญ ตลอดจนวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงให้ลดน้อยลงจากฝ่ายบริหาร ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชี

  1. สอบทานและอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปี
  2. จัดให้มีกระบวนการเพื่อให้ความมั่นใจในคุณภาพของการปฏิบัติงานของสำนักตรวจสอบภายใน และพิจารณาผลการดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าว
  3. สอบทานและพิจารณาร่วมกับฝ่ายบริหารและผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน ในหัวข้อต่อไปนี้
    • ข้อบกพร่องสำคัญที่ตรวจพบ และการสนองตอบจากฝ่ายบริหาร
    • ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นในระหว่างตรวจสอบ ซึ่งอาจจะรวมถึงขอบเขตการ ปฏิบัติงาน หรือการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบภายใน
    • การเปลี่ยนแปลงขอบเขตการตรวจสอบให้แตกต่างจากขอบเขตที่กำหนดไว้ในแผนการตรวจสอบ
    • งบประมาณ อัตรากำลัง และโครงสร้างองค์กรของสำนักตรวจสอบภายใน
    • กฎบัตรของสำนักตรวจสอบภายใน
    • คู่มือการปฏิบัติงานของสำนักตรวจสอบภายใน
    • ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย หรือเลิกจ้าง และการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบภายใน
  •  

  1. สอบทานและพิจารณาขอบเขตและวิธีการตรวจสอบที่เสนอโดยผู้สอบบัญชี
  2. สอบทานประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี รวมถึงให้ความเห็นชอบ ในการพิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี
  3. สอบทานความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบบัญชีกับฝ่ายบริหารบริษัทฯ

  1. จัดให้มีการสอบทานประสิทธิภาพของระบบงาน และติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และประกาศต่าง ๆ ของบริษัท ตลอดจนผลของการดำเนินการและการติดตามของฝ่ายบริหาร ซึ่งรวมทั้งการให้คุณให้โทษของผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และประกาศต่างๆ 
  2. จัดให้มีการสอบทานการปฏิบัติตามข้อแนะนำ และกฎเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแล รวมทั้งการปฏิบัติตามข้อสังเกตของผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีของบริษัทฯอย่างเหมาะสม
  3. จัดให้มีการขอข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากฝ่ายบริหาร ในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบ ข้อบังคับ
  4. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

  1. จัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
  2. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบ และการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ
  3. สอบทานและแก้ไขกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อให้ทันสมัยและมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบริษัทฯ และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่ออนุมัติ
  4. สอบทานแนวทางการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับองค์ประกอบด้านธรรมาภิบาลมากน้อยเพียงใด

ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบ