คณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยง

1. นายนิติ วิทยาเต็ม

ประธานอนุกรรมการ

2. นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย

อนุกรรมการ

3. นายพนัส สุขะปิณฑะ

อนุกรรมการ

4. นายนิธิศวร์ ตั้งสง่า

อนุกรรมการ

5. ผู้จัดการบริษัท

อนุกรรมการ

6. ผู้ช่วยผู้จัดการบริษัท สายงานสนับสนุนธุรกิจ

เลขานุการ

7. หัวหน้าส่วนบริหารความเสี่ยงและกำกับดูแลการปฏิบัติงาน

ผู้ช่วยเลขานุการ

บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด ตระหนักถึงหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบกับพระราชบัญญัติการพัฒนาและกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเพียงพอและเหมาะสม จึงนำระบบบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล (COSO-ERM) มาปรับใช้ในองค์กร เพื่อป้องกันหรือลดโอกาสที่เกิดความเสียหายจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์และพันธกิจต่อไป คณะกรรมการบริษัทจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อกำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงและควบควบคุมภายในให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารความเสี่ยงที่เป็นระบบอย่างบูรณาการและเป็นวัฒนธรรมองค์กร

บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. กำหนด ทบทวน และให้ความเห็นชอบกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรและนโยบายการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งกลยุทธ์แผนการบริหารความเสี่ยง และแผนการควบคุมภายใน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินงานและแผนธุรกิจของบริษัท ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทให้ความเห็นและอนุมัติ

  2. ติดตามการพัฒนาแนวทางการบริหารความเสี่ยง และกำกับการจัดทำระบบการบริหารความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกับกลยุทธ์ขององค์กร

  3. ดูแลและสนับสนุนให้กระบวนการบริหารความเสี่ยง ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการเสนอวิธีป้องกันและวิธีลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ติดตามแผนการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท 

  4. ดูแลและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการควบคุมภายใน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการควบคุมภายในอย่างเพียงพอและเหมาะสม

  5. ดูแลและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจเพื่อมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่หากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท  

  6. รายงานความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร สถานะของความเสี่ยง และแนวทางในการจัดการความเสี่ยง รวมทั้งรายงานความคืบหน้าในการกำกับความเสี่ยง และผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัท

  7. สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานงานในงานที่เกี่ยวกับความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่สำคัญกับคณะกรรมการตรวจสอบ

  8. ติดตามและผลักดันให้มีการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเรื่องการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้พนักงานทุกระดับตระหนักถึงความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยงของหน่วยงาน

  9. ให้ความสำคัญกับการบูรณาการกระบวนการทำงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ (Governance) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และหลักเกณฑ์ (Compliance) รวมถึงการประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคณะกรรมการหรือคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน และสนับสนุนให้มีบรรยากาศและวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุน GRC ทั่วทั้งองค์กร

  10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย

อำนาจหน้าที่

  1. คณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยงมีอำนาจขอให้หน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทชี้แจงข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเชิญให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของบริษัทเข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยงเพื่อชี้แจงหรือให้ข้อมูลด้วยวาจา สำหรับความเสี่ยงและการปฏิบัติหน้าที่ ตามความรับผิดชอบ ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับเชิญ สอบถาม หรือขอข้อมูลถือเป็นหน้าที่ในการให้ความร่วมมือกับคณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยง

  2. คณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยงมีอำนาจในการสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทดำเนินการ หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบที่กำหนดในกฎบัตรนี้ หรือหน้าที่พิเศษอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทจะมอบหมายให้ปฏิบัติเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ 

  3. กรณีอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในกฎบัตรฉบับนี้ให้คณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยง ใช้ดุลยพินิจในการนำแนวปฏิบัติที่กำหนดตามมาตรฐานสากลและแนวทางในการบริหารความเสี่ยงทั่วไปมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละกรณี

ข้อมูลเกี่ยวกับคณะอนุกรรมการกำกับความเสี่ยง