นโยบายกำกับการดูแลกิจการที่ดี

หลักการกำกับดูแลกิจการ

บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด มีความมุ่งมั่นการดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้น และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยได้นำหลักการและแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากลมาเป็นหลักปฏิบัติในการพัฒนาองค์กรให้เจริญเติบโต มีความสามารถในการแข่งขันและผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญและดำเนินงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ส่งเสริมและกำกับดูแลให้กรรมการ ผู้จัดการ พนักงานระดับบริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ยึดมั่นและนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาปรับใช้ในการดำเนินงาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ยกระดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล จึงได้อนุมัตินโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และให้ประกาศใช้และนำนโยบาย แนวปฏิบัติไปปฏิบัติอย่างทั่วทั้งองค์กร โดยตามนโยบายได้นำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากล 7 ประการมาปรับใช้ดังนี้

  1. Accountability หลักความรับผิดชอบผลการปฏิบัติหน้าที่
  2. Responsibility หลักความสำนึกในหน้าที่ด้วยขีดความสามารถ และประสิทธิภาพที่เพียงพอ
  3. Equitable Treatment หลักการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียโดยสุจริตและให้เกิดความเท่าเทียมกัน
  4. Transparency of Information Disclosure หลักความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ครบถ้วนและถูกต้อง
  5. Value Creation หลักการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทเพื่อเพิ่มความสามารถในทุกด้านเพื่อการแข่งขัน
  6. Ethics ส่งเสริมพัฒนาการกำกับดูแลและจรรยาบรรณที่ดีในการประกอบธุรกิจ
  7. Participation การมีส่วนร่วมเป็นการส่งเสริม กระจายโอกาสแก่ประชาชนให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

ประกอบด้วย 8 หมวดดังนี้

หมวดที่ 1 สิทธิและความเท่าเทียมของผู้ถือหุ้น

หมวดที่ 2 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

หมวดที่ 3 บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย

หมวดที่ 4 ความยั่งยืน

หมวดที่ 5 การเปิดเผบข้อมูลและความโปร่งใส

หมวดที่ 6 การบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน

หมวดที่ 7 จรรยาบรรณ

หมวดที่ 8 การติดตามผลการดำเนินงาน


นโยบายการกำกับดูแลกิจการ